วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ


14 ตุลาฯ มหาวิปโยคลับคมประชาธิปไตยศึกเลือกตั้งครั้งแรกหนึ่งเดียวในกรุงเทพมหานครบทบาทผู้แทนของปวงชนวิกฤตเศรษฐกิจพ่ายแพ้ครั้งแรกผู้นำฝ่ายค้านนายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๗

14 ตุลาฯ มหาวิปโยค
“ผมสนใจการเมือง เมื่อครั้งที่มีอายุ 9-10 ขวบ ที่ระหว่างนั้นเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และได้เห็นคนนับหมื่นนับแสนออกมาชุมนุมกันตามท้องถนนและต่อสู้โดยยอมเอาชีวิตเข้าแลก คุณพ่อได้อธิบายว่าออกมาเรียกร้องสิทธิ ทำให้ผมรู้สึกว่าทุกคนเป็นเจ้าของประเทศเหมือนกัน จึงตัดสินใจตั้งแต่ครั้งนั้นว่าจะเป็นนักการเมือง ... ตั้งแต่นั้นมา ผมไม่เคยเปลี่ยนใจ” จุดพลิกผันที่ทำให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือ “มาร์ค” เริ่มสนใจการเมือง มาตั้งแต่อายุ 9-10 ขวบ เพราะอยากรู้ว่าประชาธิปไตยคืออะไร เขาเรียกร้องกันทำไม สิทธิและเสรีภาพของประชาชนหมายถึงอะไร อภิสิทธิ์ได้ใช้ช่วงเวลานี้ติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิด โดยผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และฟังการถ่ายทอดสดการประชุมสภาผู้แทนทางวิทยุ ความประทับใจในกระบวนการประชาธิปไตยก่อตัวขึ้นในใจเด็กชายตัวเล็กๆและนำมาซึ่งความมุ่งมั่นในทิศทางของประชาธิปไตยตลอดมา “พอเลือกตั้งเสร็จก็มีการประชุมสภา มีการถ่ายทอดสดทางวิทยุเป็นวิธีการในการติดตามข่าวและได้ฟังคนอภิปราย [ขณะนั้น] ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชเป็นนายกฯและแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ขณะนั้นได้รับการโจมตีจากฝ่ายค้านรุนแรงมาก คุณชวนท่านลุกขึ้นมาโต้ ผมฟังแล้วประทับใจ ซึ่งบรรยากาศอย่างนั้นทำให้ผมทึ่ง คือคนนำความคิดมาแสดงเห็นตรงกันบ้างเห็นต่างกันบ้าง นี่คือการเมือง คือการนำความคิดมาเพื่อบอกว่าบ้านเมืองน่าจะเป็นอย่างไร” เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ในต้นปี 2519 อภิสิทธิ์เดินทางไปเรียนหนังสือต่อในชั้นมัธยมที่ประเทศอังกฤษ ทำให้ไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม แต่ก็ได้พยายามติดตามข่าวสารของประเทศไทยจากจดหมายหรือหนังสือพิมพ์ที่ขอให้คุณพ่อส่งไปให้อ่าน แม้ว่าการที่ต้องไปเรียนทำให้ต้องห่างจากเหตุการณ์ในประเทศไทย แต่ความคิดในการทำงานทางการเมืองของ อภิสิทธิ์มิได้ห่างไปด้วย

หลังจากอภิสิทธิ์เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาที่อีตันกลับมาประเทศไทย ได้ใช้เวลาว่างไปฝึกงานที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย ประกอบกับช่วงเวลานั้นประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งทั่วไป อภิสิทธิ์ได้สมัครเข้าเป็นอาสาสมัครในทีมช่วยหาเสียงให้คุณพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยเดินรณรงค์ในแถบชุมชนแออัดคลองเตยหลังการเลือกตั้ง อภิสิทธิ์ทำงานให้กับพรรคประชาธิปัตย์มาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือได้รับมอบหมายให้ดูงานด้านวิชาการให้กับคุณชวน หลีกภัย ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และได้มีโอกาสตามไปเป็นล่ามตอนคุณชวน หลีกภัยเดินทางไปปากีสถาน บังคลาเทศและเนปาล คุณชวน หลีกภัยเล่าถึงอภิสิทธิ์ในกรณีนี้ว่า “ช่วงนั้นเขาเป็นนักเรียนที่อังกฤษมาฝึกงาน ...เขาเป็นคนที่มีความสามารถมาตั้งแต่เด็กมอบอะไรให้เขาก็ทำได้ เขามีความพิเศษมากกว่าคนอื่น ... แล้วอีกอย่างคือความเป็นคนมีอุดมการณ์ อันนี้สำคัญมาก” ในทางกลับกันอภิสิทธิ์ก็ชื่นชมคุณชวนมาก โดยกล่าวถึงคุณชวนว่า “ผมประทับใจท่านมาโดยตลอด ท่านพูดได้นุ่มนวล คมและยืนอยู่บนหลักการ ท่านมีความตั้งใจ โดยไม่หวั่นไหวกับเหตุการณ์หรือความผันผวนที่เกิดขึ้น ท่านเป็นนักการเมืองอาชีพ เป็นสากลอย่างที่ต่างประเทศเขาเป็นกัน

คือทำทุกอย่างเป็นระบบเติบโตอย่างมีครรลอง คนยอมรับในความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบารมีท่านเอง”“ผมชื่นชมกับคนที่ยึดมั่นในแนวความคิดและอุดมการณ์ของตน

ศึกเลือกตั้งครั้งแรก

“[อภิสิทธิ์]เป็นประธานนักเรียนที่ดีที่สุด มีผลงานมากที่สุดคนหนึ่ง”- กรณ์ จาติกวณิช อภิสิทธิ์ตัดสินใจเลือกเรียนในสาขาวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ซึ่งเป็นสาขาวิชาเรียนของผู้สนใจที่จะประกอบอาชีพนักการเมืองในอนาคต ในช่วงที่เรียนในมหาวิทยาลัย สมัยนั้นประเทศอังกฤษมีนายกรัฐมนตรีชื่อมาร์การ์เร็ต แธชเชอร์ หลายเรื่องที่นักศึกษาไม่เห็นด้วยก็จัดกิจกรรมรวมตัวกันไปประท้วง และอภิสิทธิ์ก็เข้าไปร่วมด้วยเสมอ ด้วยแนวคิดที่อิงประชาชนเป็นหลัก เมื่อขึ้นชั้นปีที่สอง อภิสิทธิ์ได้ลงสมัครเป็นประธานนักศึกษา ปรากฏว่าได้รับการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย เนื่องจากชื่อเสียงในแง่การเรียน ความสามารถและเป็นนักกิจกรรมตัวยง ในสมัยของอภิสิทธิ์ งานกิจกรรมนักศึกษาได้นำการถกเถียงเข้าสู่วาระการประชุมสภามหาวิทยาลัยทั้งเรื่องหลักสูตร ประเด็นปัญหาทางการเมือง และบทบาทในแนวทางประชาธิปไตยของนักศึกษา การบริหารในฐานะประธานนักศึกษาของอภิสิทธิ์จึงได้รับการพูดถึงอยู่ตลอด อภิสิทธิ์จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และเดินทางกลับมาทำงานเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ที่เขาชะโงกเป็นเวลาเกือบสองปี แล้วได้รับทุนการศึกษาไปเรียนต่อในระดับปริญญาโทสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และเมื่อจบการศึกษาก็กลับมาทำงานเป็นอาจารย์ในคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หนึ่งเดียวในกรุงเทพมหานคร
“เขามีบุคลิกที่ดึงดูดใจคน ชอบเลย รักเลย คุณอภิสิทธิ์เขามีตรงนี้มาก” ดร.เจริญ คันธวงศ์ 23 กุมภาพันธ์ 2534 เกิดเหตุการณ์ยึดอำนาจการปกครองประเทศโดยกลุ่มทหารที่เรียกตนเองว่า”คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” หรือ ร.ส.ช. ชื่อของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปรากฏตามสื่อเป็นครั้งแรกด้วยบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการที่คัดค้านการกระทำอันไม่เหมาะสมของคณะ ร.ส.ช. รวมถึงไม่เห็นด้วยกับการที่คุณพ่อของเขา(น.พ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เข้าร่วมเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลของร.ส.ช. แต่ต่างฝ่ายต่างก็เคารพในการตัดสินใจของกันและกัน คณะร.ส.ช.จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม 2535 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอายุขณะนั้น 27 ปี ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.ในนามพรรคประชาธิปัตย์ และก็ได้เป็นส.ส.หนึ่งเดียวของพรรคในกรุงเทพฯ พร้อมกับการเกิดกระแสอภิสิทธิ์ฟีเวอร์หลังการเลือกตั้งไม่กี่วัน ดร.เจริญ คันธวงศ์กล่าวถึงผู้ร่วมทีมเขต 6 หน้าใหม่ว่า “เขามีบุคลิกที่ดึงดูดใจคน ชอบเลย รักเลย คุณอภิสิทธิ์เขามีตรงนี้มาก” แต่อายุสภาชุดนี้เพียงสามเดือน กลุ่มนักการเมืองและประชาชนคัดคัานการเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา คราประยูร จนเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองอันรุนแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น